รับทำเว็บ บริการ รับทำเว็บสไตล์เกาหลี โปรโมชั่น รับทำเว็บ สั่งทำเว็บไซต์เกาหลี สั่งทำเว็บไซต์เกาหลี เว็บบอร์ด รับทำเว็บสั่งทำเว็บไซต์เกาหลี แบบฟอร์มทำเว็บไซต์เกาหลี ผลงาน รับทำเว็บ
รับทำเว็บ
 
 

รับทำเว็บ ♥ iChicweb

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday256
mod_vvisit_counterThis month14966
mod_vvisit_counterAll days3233376

วันที่เปิดเว็บ : 10/06/2010 ❤

Login ♥






ลืมรหัสผ่าน?
ลืมชื่อผู้ใช้ของคุณ?
ไม่มีบัญชีผู้ใช้? ลงทะเบียน

คำรับรองจากลูกค้า :: iChicweb

ผลงานรับทำเว็บ iChicweb ♥

★ รับข่าวสาร Update!! จากเรา

Name:

Email:

เพื่อนบ้านที่น่ารั๊ก ♥ จุ๊ฟๆ

Host Atom

P&T Hosting Co., Ltd. :: บริการ | จดโดเมนเนม | เว็บโฮสติ้ง | VPS | Co-location |

สนใจเป็นเพื่อนบ้านกับ iChicWeb ติดต่อได้ค่า

 

แลกลิงค์ Banner 120x120

fashion

Copy Code แลกลิงค์ไปติดที่เว็บของคุณ
เรามี 898 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
Google PageRank Checker

 
 
 
 
 
Administrator

Administrator

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2010 เวลา 01:15 น.

วิธีการเรียกบอท มาเก็บข้อมูลในเว็บเรา บ่อยๆ


Google และ บอทของ Search Engine อื่นๆ จะไต่ไปตามเว็บต่างๆ เป็นล้านๆ เว็บไซต์ต่อวัน ซึ่งบอทเหล่านี้ส่วนใหญ่จะชอบเว็บที่มีเนื้อหาอัพเดทเสมอ ทันสมัยตลอดเวลา มีการเปลี่ยนข้อมูลบ่อย (url เดิม) ซึ่งก็หมายความว่าเว็บของเรา ถ้าต้องการให้ Google แวะเข้ามาบ่อยๆ เราก็ต้องอัพเดทข้อมูลบ่อยๆ ตามด้วย แต่แค่นี้ยังไม่พอ เรายังมีวิธีอื่นในการเรียกบอท มาเก็บข้อมูลของเราครับ นั่นคือ การ ping sitemap ฮั่นแน่ หลายๆ คน ร้องอ๋อขึ้นมาทันที แล้วมันทำยังไงละครับ มาดูวิธีกันเลย
วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2010 เวลา 01:15 น.

หลักการตั้งชื่อโดเมน (Domain Name)


หลักการตั้งชื่อโดเมน

ชื่อ โดเมนก็เหมือนกับตราสินค้า หากชื่อโดเมนจดจำได้ง่ายก็จะช่วยให้ลูกค้าจำเว็บไซต์ของคุณได้มากขึ้น สามารถขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น ลักษณะของโดเมนที่ดีควรประกอบด้วย

  • ชื่อต้องสั้น เนื่องจากการจดจำเว็บไซต์จดจำได้ง่าย ไม่สับสน และเมื่อต้องการค้นหาเว็บไซต์ผ่านทาง Search engine ก็สามารถทำได้ง่ายกว่าการจดจำชื่อเว็บไซต์ที่ยากมากกว่า

  • จำ ง่าย พูดง่ายและสะกดง่าย ในบางครั้งการเข้าเว็บไซต์ก็มาจากการบอกหรือการรับฟัง เห็นป้ายโฆษณาที่ติดอยู่ทั่วไป ถ้าโดเมนจดจำได้ง่าย พูดและสะกดง่าย ก็ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าเว็บไซต์ได้อย่างถูกต้อง
  • หากชื่อยาวต้องจำง่าย ในกรณีที่ชื่อเว็บไซต์ยาวต้องเป็นประโยคที่จดจำง่าย ความหมายตรงตัว อ่านแล้วเข้าใจ เช่น www.hostneverdie.com สามารถสื่อสารให้ลูกค้าเข้าถึงเว็บไซต์ได้
  • เติม S หรือไม่เติม S บางครั้งผู้ใช้อาจสับสนว่าชื่อโดเมนนั้นจะเติม S หรือไม่เติม S ดี แต่เพื่อต้องกันการเข้าใจผิดควรจดทะเบียนไว้ทั้งสองแบบ เพื่อป้องกันลูกค้าเข้าใจผิด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ – (ขีดกลางหรือ Hyphen) การเข้าเว็บไซต์โดยใช้ขีดกลาง เป็นการเขียนโดเมนที่ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากเวลาที่คนพูดถึงจะไม่นิยมพูดถึงขีดกลางด้วย แต่จะรวบคำไปเลย เช่น ควรใช้ชื่อเว็บไซต์ว่า www.hostneverdie.com แทนที่จะใช้ www.host-never-die.com
  • ถ้ามีบริษัทชื่อสินค้าหรือบริการ ก็ใช้ชื่อของสินค้าหรือบริการตั้งเป็นชื่อเว็บไซต์ เนื่องจากสินค้าและบริการของคุณเป็นที่รู้จักแล้ว การใช้ชื่อสินค้าหรือบริการเป็นชื่อเว็บไซต์จะทำให้บริษัทของคุณดูมีความน่า เชื่อถือเพิ่มขึ้นด้วย
  • ชื่อเว็บไซต์แสดงลักษณะของบริการภายใน เว็บไซต์ ในกรณีนี้จะทำให้ชื่อเว็บไซต์ง่ายต่อการค้นหาและจดจำได้ส่วนหนึ่ง เช่น จะค้นหาผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง เว็บไซต์ที่ให้คำว่า Host หรือ Hosting เป็นชื่อประกอบจะค้นหาได้ง่ายกว่าการใช้ชื่อเฉพาะ
  • ในกรณีที่ใช้ชื่อที่ไม่มีความหมายตั้ง ชื่อเว็บไซต์ แต่ขอให้จำง่ายเป็นการดี เนื่องจากชื่อที่ใช้เหล่านั้นอาจจะเป็นคำที่ง่ายต่อการจดจำ และสิ่งที่สนับสนุนให้เว็บไซต์มีคนเข้าอาจจะเป็นคุณภาพการบริการที่ดีของ เว็บไซต์นั้นด้วย

ข้อกำหนดในการตั้งชื่อโดเมน


  • การจดโดเมนจะต้องจดทะเบียนเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1 - 10 ปี
  • ชื่อโดเมนต้องเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ เท่านั้น จำนวนตัวอักษร (รวมเครื่องหมาย -) และนามสกุลสูงสุดไม่เกิน 67 ตัวอักษร (สำหรับโดเมน .th จะต้องมีตัวอักษรอย่างน้อย 2 ตัว แต่ไม่เกิน 24 ตัว)
  • ตัวอักษรพิเศษที่ไม่สามารถใช้ในการจดทะเบียน ได้แก่ ! @ # $ % ^ & ฿ * ( ) + | / < > , ' ? " [ ] { } _
  • ตัวเลข 0-9 สามารถนำมาใช้ในชื่อโดเมนได้ ซึ่งสามารถขึ้นต้น, ระหว่างชื่อโดเมน, หรือลงท้ายได้
  • สามารถใช้เครื่องหมาย - เพื่อคั่นระหว่างตัวอักษรได้ แต่ไม่สามารถนำมาขึ้นต้น หรือลงท้ายได้
  • ชื่อโดเมนไม่สามารถประกอบด้วยช่องว่าง เว้นวรรค ในตำแหน่งใดๆ

การเลือกนามสกุลโดเมนให้เหมาะกับเรา


  • .com ย่อมาจาก commercial หมายถึง การค้า บริษัท องค์กร ธุรกิจที่แสวงหากำไร บางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ส่วนตัวหรือเว็บไซต์อื่นๆ ด้วย
  • .net ย่อมาจาก network หมายถึง เครือข่าย ธุรกิจที่เกี่ยวกับเครือข่ายมักใช้กับเว็บไซต์บริการอินเตอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
  • .org ย่อมาจาก organization หมายถึง องค์กร หรือกลุ่มบุคล มักใช้กับ องค์กรไม่หวังผลกำไร และ เว็บไซต์ของส่วนราชการ
  • .info ย่อมาจาก information หมายถึง ข้อมูล หรือการให้ข้อมูล ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่ให้รายละเอียดเกียวกับข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลของประเทศต่างๆ เป็นต้น
  • .name ย่อมากจาก .name หมายถึง เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับชื่อ
  • .biz ย่อมาจาก business หมายถึง องค์กร บริษัท ห้างหุ้นส่วน คล้ายกับ .com
  • .us ย่อมาจาก united states หมายถึง ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศนี้ด้วย
  • .co.th หมายถึง Company Thailand คือ บริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กร ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ผู้จดโดเมนเนมภายใต้หมวดหมู่นี้จะต้องเป็นองค์กรพาณิชย์ที่จดทะเบียนใน ประเทศไทย
  • .ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand หมายถึง โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ผู้จดโดเมนเนมภายใต้หมวดหมู่นี้ ต้องใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน
  • .or.th ย่อมาจาก organization Thailand หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
  • .in.th หมายถึง Individual/Incorporation Thailand คือ เว็บไซต์เกี่ยวกับองค์กรและบุคคลทั่วไป แบบใครขอก่อนได้ก่อน
  • .net.th ย่อมาจาก network in Thailand หมายถึง เว็บไซต์เกี่ยวกับบริษัทที่เกียวกับระบบ Network หรือ ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) ในประเทศไทย

ที่มา : http://work.igetweb.com/index.php?mo=3&art=400664
วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2010 เวลา 01:15 น.

วิธีการ Add/Submit ไฟล์ sitemap.xml เข้าระบบ Google

  เพื่อทำให้เว็บไซต์ index ใน google search engine ภายใน 7 วัน
Add/Submit Google Sitemap สำหรับทำให้เว็บไซต์ติด index

1. สร้างไฟล์ sitemap ก่อน ไปที่เว็บ http://www.xml-sitemaps.com

2. กรอก URL เว็บไซต์ที่ต้องการเข้าไป แล้วกด Enter หรือ คลิกที่ปุ่ม Start หลังจากนั้นเว็บไซต์ก็จะสร้าง sitemap คอยนานหรือไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนหน้าเว็บไซต์


3. พอระบบมันสร้างไฟล์ sitemap.xml เสร็จ ให้คลิกลิงค์ของ Download un-compressed XML หรือ อันแรก สังเกตง่าย ลงท้ายด้วย sitemap.xml ก็ให้คลิก และจะดาวน์โหลดไฟล์นี้ลงมาไว้ในเครื่องเรา

4. ให้ทำการอัพโหลดไฟล์ sitemap.xml เข้าไปไว้ที่ เว็บไซต์ของคุณ


5. ต่อไป ให้ไปที่ google sitemap


6. ถ้ายังไม่เคยสมัครใช้บริการ ให้คลิกที่ Create a Google Account ไม่จำเป็นต้องใช้ Gmail สมัครก็ได้ ใช้อีเมล์ yahoo, hotmail สมัครก็ใช้ได้ ถ้าเป็นสมาชิกอยู่แล้วให้ล็อกอินเข้าเว็บ Google sitemap ได้ทันที


7. แล้วก็ใส่ชื่อ URL ในช่อง Add Site: แล้วกดปุ่ม OK


8. ในหน้านี้ให้คลิกที่หัวข้อ Sitemaps


9. ในหน้านี้ ให้คลิกที่ Add a Sitemap


10. ในหน้านี้ ให้เลือก Add General Web Sitemap และ กรอกชื่อเว็บไซต์ที่เก็บ Sitemap ไว้ ในข้อ 3. My Sitemap URL is: ตัวอย่าง: http://www.YourWebsite.com/sitemap.xml และ กดปุ่ม Add Web Sitemap


11. ในหน้านี้ จะพบเครื่องหมายถูก และตามด้วยข้อความ
' You have added a Sitemap to http://YourWebsite.com/. Reports may take several hours to update. Thank you for your patience! '
ให้คลิกที่ My sites ใกล้ๆ กับ Logo Google


12. ในหน้าถัดมานี้ จะพบชื่อเว็บไซต์ที่คุณทำ Sitemap ให้คลิกที่ Verify


13. มาในหน้าถัดมานี้ มีให้ 2 วิธี


13.1 เลือกเป็น Add a META Tag จะต้องเอา โค๊ดนี้ ไปแปะส่วนบนไฟล์ index.html (หรือ index.php) ใส่ไว้ระหว่างส่วน <head>.....</head> ตรงใหนก็ได้ เมื่อระบบ ค้นเจอ หน้าแรก เรามีโค๊ดนี้ ก็จะ verify เว็บผ่าน

13.2 เลือก Upload an HTML file จะพบชื่อไฟล์ที่ลงท้ายด้วย googledd22563ac963363.html ให้คัดลอกเก็บไว้ แล้วเปิดโปรแกรม Notepad ขึ้นมาใช้ แล้วคลิกที่ Flie > Save ให้ใส่ชื่อไฟล์ที่ได้คัดลอกมาใส่ในที่นี้คือ googledd22563ac963363.html แล้วนำไฟล์ที่ Save เก็บนี้นำไปอัพโหลดไปเก็บในเว็บไซต์ของคุณ ต่อมาให้กลับมาที่หน้าเดิมในเว็บไซต์ Google มีลิงค์ทดสอบว่าไฟล์ได้อัพโหลดไปเก็บถูกต้องหรือไม่ ให้คลิกลิงค์เพื่อเปิดหน้าเว็บไซต์ที่เป็นไฟล์ googledd22563ac963363.html ถ้าถูกต้องก็จะมีแต่หน้าขาวเปล่าๆ เมื่อถูกต้องเรียบร้อยให้คลิกที่ปุ่ม Verify

เพียงเท่านี้ การทำ Sitemap ก็เสร็จแล้ว
' You've successfully verified http://YourWebsite.com/ '


สุดท้าย หลังจาก
submit ไฟล์ sitemap เรียบร้อยแล้ว แสดงว่า google แค่อ่าน รายชื่อหน้าเว็บเพจของเราเท่านั้นที่เหลือ ยังมีอีก 2 ขั้นตอนที่เราจะต้อง รอ รอ รอ รอ แล้ว รอ อีก คือ

1. รอให้ google bot เข้ามาหา และเก็บข้อมูล (กินเวลา ประมาณ 2-3 วัน)
2. รอให้ google ประมวลผล ใหม่ และเอาเว้บไซท์เราเข้าไป (กินเวลาประมาณ 7-14 วัน)
3. รอให้ค้นเจอ หรือแสดงผล (กินเวลา 30 วัน - 60 วัน)



ที่มา : iamnewbies จาก ThaiSEOBoard.com
http://www.raidaidd.com/forums/viewthread.php?tid=2225


หลังจากที่เวบไซต์ของคุณมีความพร้อมแล้ว คุณก็สามารถเริ่มการโปรโมทเวบไซต์ของคุณได้ การโปรโมทเวบไซต์ของคุณมีหลายวิธี ลองเลือกวิธีที่เหมาะสมกับเวบไซต์ของคุณที่สุดครับ



1.กลยุทธ์ เพิ่มคนเข้าเวบด้วย "เสิร์ช เอ็นจิ้น" (Search Engine Strategies) คงต้องยอมรับว่าเกือบ 80% ของคนใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก มักใช้เสิร์ช เอ็นจิ้น ในการค้นหาเวบไซต์ที่ตัวเองต้องการ ดังนั้นการนำเวบไซต์ของคุณเข้าไปติดอันดับในเสิร์ช เอ็นจิ้น จึงเป็นวิธีที่คุณหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากคุณต้องการจะให้เวบไซต์ของคุณ เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว

ดัง นั้นการปรับเวบไซต์ของคุณให้เสิร์ช เอ็นจิ้น รู้จัก จึงเป็นศาสตร์และเทคนิคที่คุณต้องคำนึง ตั้งแต่คุณวางแผนเริ่มต้นสร้างเวบไซต์ หรือสำหรับบางท่านที่มีเวบไซต์อยู่แล้ว ก็ควรที่จะวางแผนปรับเวบไซต์ของคุณให้เสิร์ช เอ็นจิ้น รู้จักได้โดยเร็ว มีตัวอย่างเวบไซต์เพื่อนผมเวบหนึ่ง หลังจากที่ทำเสร็จแล้ว ไม่ได้ทำการตลาดอะไรเลย   นอกเหนือจากการปรับแต่งเวบไซต์ของเค้าให้ เสิร์ช เอ็นจิ้นรู้จัก แต่ภายหลังจากนั้น เวบไซต์แห่งนั้นก็มีรายได้จากการขายสินค้าได้อย่างต่อเนื่องทุกวัน โดยที่เค้าไม่ต้องทำการตลาดอะไรอีกเลย เพราะเสิร์ช เอ็นจิ้น ได้รู้จักเวบไซต์ของเค้าแล้ว และส่งคนเข้ามาที่เวบไซต์ของเค้าอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย

2. การเพิ่มลิงค์ เพิ่มโอกาสคนรู้จักเวบไซต์คุณ (Linking Strategies) การแลกลิงค์กับเวบไซต์อื่นๆ จะช่วยนอกจากจะทำให้คนอื่นๆ มีโอกาสเข้ามาที่เวบไซต์ของคุณได้จากเวบเหล่านั้นแล้ว คุณยังสามารถเพิ่มจำนวน "เพจแรงค์" (Page Rank) ซึ่งเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่จะช่วยทำให้อันดับของเวบไซต์ของคุณดีกว่าเวบ อื่นๆ เมื่อเวบไซต์ของคุณถูกค้นหาผ่าน เสิร์ช เอ็นจิ้น

โดยวิธีการที่จะเพิ่มลิงค์ให้กับเวบไซต์ของ คุณ คุณควรไปเพิ่มชื่อเวบไซต์ของคุณที่บริการเวบไดเร็คทอรี่ใหญ่ของโลกเช่น www.DMOZ.com (เวบไซต์ไดเร็คทอรี่ที่ใช้คนจัดการ ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก), www.Yahoo.com , www.About.com ถ้าเป็นของไทยก็ Sanook.com ยิ่งถ้าหากเวบไซต์ของคุณสามารถเข้าไปติดอยู่ในเวบไดเร็คทอรี่เหล่านี้ได้ แล้วละก็ โอกาสที่เสิร์ช เอ็นจิ้นต่างๆ จะหาเวบไซต์ของคุณเจอ ก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น หรือ อีกวิธีหนึ่งง่ายๆ ที่คุณจะสามารถเพิ่มลิงค์ของเวบไซต์ของคุณ คือการขอแลกลิงค์กับเวบไซต์ต่างๆ ที่คุณอาจจะลองติดต่อขอแลกเปลี่ยนกับเวบไซต์เหล่านั้น นี่อาจจะเป็นวิธีง่ายๆ ที่คุณเริ่มต้นได้ทันที

3. การตลาดผ่านอีเมลช่องทางเข้าถึงลูกค้าที่ต้องใช้ให้ถูก (E-Mail Strategies) การตลาดผ่านอีเมล ไม่ใช่แค่การที่คุณไปซื้อรายชื่อคนมาแล้วส่งข้อมูลไปยังคนเหล่านี้โดยที่คุณ ไม่ได้เคยรู้จัก หรือได้รับอนุญาตจากคนเหล่านั้นเลย ซึ่งการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายการทำ "สแปม" ซึ่งไม่ใช่การตลาดผ่านอีเมลเลย แต่เป็นการสร้างความน่ารำคาญให้แก่ผู้รับมากกว่า ดังนั้นการสร้างระบบการเก็บอีเมลของลูกค้าของคุณเอง  หรือกลุ่มลูกค้าที่อาจจะสนใจรับข่าวสารจาก เวบไซต์ของคุณ เป็นช่องทางที่ดีที่สุดในการใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการส่งข่าวสารของคุณผ่านอี เมลไปยังกลุ่มคนเหล่านั้น แต่หากในตอนเริ่มต้น ซึ่งคุณยังไม่มีข้อมูลของลูกค้าของคุณเลย คุณอาจจะใช้วิธีไปใช้เช่ารายชื่ออีเมลจากผู้ให้บริการเช่ารายชื่ออีเมล เพื่อส่งไปหาคนเหล่านั้นด้วยความยินยอมจากผู้รับก็ได้ (ลองค้นหาผู้ให้บริการเช่ารายชื่ออีเมลจาก Google.com โดยใช้คีย์เวิร์ดคำว่า "list broker")

4. วิธีเลือกใช้สื่อเก่า แต่ได้ผลแยบยลนัก (Traditional Strategies) การใส่ชื่อเวบไซต์ในสื่อต่างๆ ที่ไม่ใช่สื่อออนไลน์ (offline) อาจจะช่วยทำให้คนจดจำและดึงคนเข้ามาที่เวบไซต์ของคุณได้ เช่น การใส่ชื่อเวบไซต์ลงในนามบัตร, โบรชัวร์, ป้ายหน้าร้าน, สติกเกอร์ร้านค้า, ถุงใส่สินค้า, เสื้อหรือหมวกของพนักงาน, ป้ายสินค้า หรือแม้แต่การใส่ชื่อเวบไว้ที่ตัวสินค้าเลยก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้คนสามารถกลับมาที่เวบไซต์ของคุณได้อีกเมื่อเค้าเห็นชื่อ เวบไซต์ของคุณจากสิ่งเหล่านี้

การเลือกใช้สื่อที่ไม่ใช่สื่อออนไลน์ อาจจะช่วยทำให้คนรับรู้และรู้จักเวบไซต์ของคุณเพิ่มมากขึ้นได้ เช่น ลงในป้ายโฆษณาต่างๆ, ลงในหนังสือ, จดหมาย, โปสการ์ด, วิทยุ หรือแม้แต่ทีวี แต่สื่อจำพวกนี้ มักจะมีค่าใช้จ่ายราคาแพง เว้นแต่คุณได้ใช้สื่อเหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่เพิ่มชื่อเวบไซต์ลงไปในสื่อเหล่านี้เพิ่มเติม เพื่อให้คนรับสื่อสามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้อีกช่องทาง

5.ใช้เงิน ลงโฆษณา (Paid Advertising Strategies)
วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ได้ผลโดยเร็ว และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตรง และรวดเร็ว คือการซื้อสื่อโฆษณาในสื่อที่กลุ่มเป้าหมายของคุณอยู่ เช่น ซื้อตำแหน่งโฆษณารูปแบบตัวหนังสือ หรือแถบโฆษณา (Banner) ในเวบไซต์ หรือการใช้รูปแบบของการทำแนะนำและบอกต่อในการขาย เพื่อที่จะได้ค่าคอมมิชชั่น (Affiliate Program) ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีที่คุณจะสามารถได้ผลตอบแทนกลับมาที่แน่นอน และเช่นกันกับผู้ที่แนะนำบริการ ก็จะได้ค่าคอมมิชชั่นจากคุณเช่นกัน

6.อีก หลากหลายวิธีที่น่าลอง (Miscellaneous Strategies) วิธีอื่นๆ ที่น่าลองใช้เช่น การโปรโมทเวบไซต์ของคุณในเวบบอร์ดต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไป ซึ่งต้องพยายามหาวิธีที่ไปลงโฆษณาตามเวบบอร์ดต่างๆ ในรูปแบบที่น่าสนใจ และเคารพต่อเวบบอร์ดที่เราไปลงด้วย ไม่ใช่ไปลงซะเวบบอร์ดเค้ามีแต่โฆษณาเต็มไปหมด

หรืออาจจะใช้วิธีแจก ของ หรือมีบริการฟรีภายในเวบไซต์ของคุณ เพราะปกติคนชอบของฟรีอยู่แล้ว ดังนั้นเวบไซต์ของคุณจะบอกปากต่อปากไปเรื่อยๆ เช่น แจกฟรีอีเมล, บริการดูดวง, แจกตัวอย่างสินค้าฟรี เป็นต้น
จากวิธีทั้งหมดที่แนะนำมา ผมอยากให้คุณลองเลือกดู และลองนำวิธีต่างๆ นำไปใช้กับเวบไซต์ของคุณดูว่า วิธีไหนที่จะเหมาะกับเวบไซต์หรือธุรกิจของคุณ ซึ่งการโปรโมทเวบไซต์ บางรูปแบบ ก็อาจจะเหมาะสมกับบางธุรกิจ ซึ่งทั้งนี้ยังไม่มีหลักตายตัวที่แน่นอนว่า วิธีไหนจะให้ผลดีที่สุดสำหรับแต่เวบไซต์ อย่างนี้ต้องลองแล้วละ....!

ที่มา : กรุงเทพบิธวีค  และ Google และพันทิป



วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2010 เวลา 01:15 น.

เทคนิค75 วิธีโปรโมทโมทเว็บเพื่อเรียกคนดู


เว็บไซต์ของคุณต่อให้ดีสักแค่ไหน คงจะไม่มีประโยชน์ ถ้าขาดการโปรโมทที่ดี เทคนิคต่างๆต่อไปนี้ ลองนำไปใช้ดู นะครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 ถัดไป > สุดท้าย >>
JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL
 
 
 
 
 
 

คุยสดๆกับเราที่นี่!!
รับทำเว็บเกาหลี