วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2010 เวลา 01:15 น.

หลักการตั้งชื่อโดเมน (Domain Name)

Rate this item
(0 votes)

หลักการตั้งชื่อโดเมน

ชื่อ โดเมนก็เหมือนกับตราสินค้า หากชื่อโดเมนจดจำได้ง่ายก็จะช่วยให้ลูกค้าจำเว็บไซต์ของคุณได้มากขึ้น สามารถขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น ลักษณะของโดเมนที่ดีควรประกอบด้วย

  • ชื่อต้องสั้น เนื่องจากการจดจำเว็บไซต์จดจำได้ง่าย ไม่สับสน และเมื่อต้องการค้นหาเว็บไซต์ผ่านทาง Search engine ก็สามารถทำได้ง่ายกว่าการจดจำชื่อเว็บไซต์ที่ยากมากกว่า

  • จำ ง่าย พูดง่ายและสะกดง่าย ในบางครั้งการเข้าเว็บไซต์ก็มาจากการบอกหรือการรับฟัง เห็นป้ายโฆษณาที่ติดอยู่ทั่วไป ถ้าโดเมนจดจำได้ง่าย พูดและสะกดง่าย ก็ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าเว็บไซต์ได้อย่างถูกต้อง
  • หากชื่อยาวต้องจำง่าย ในกรณีที่ชื่อเว็บไซต์ยาวต้องเป็นประโยคที่จดจำง่าย ความหมายตรงตัว อ่านแล้วเข้าใจ เช่น www.hostneverdie.com สามารถสื่อสารให้ลูกค้าเข้าถึงเว็บไซต์ได้
  • เติม S หรือไม่เติม S บางครั้งผู้ใช้อาจสับสนว่าชื่อโดเมนนั้นจะเติม S หรือไม่เติม S ดี แต่เพื่อต้องกันการเข้าใจผิดควรจดทะเบียนไว้ทั้งสองแบบ เพื่อป้องกันลูกค้าเข้าใจผิด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ – (ขีดกลางหรือ Hyphen) การเข้าเว็บไซต์โดยใช้ขีดกลาง เป็นการเขียนโดเมนที่ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากเวลาที่คนพูดถึงจะไม่นิยมพูดถึงขีดกลางด้วย แต่จะรวบคำไปเลย เช่น ควรใช้ชื่อเว็บไซต์ว่า www.hostneverdie.com แทนที่จะใช้ www.host-never-die.com
  • ถ้ามีบริษัทชื่อสินค้าหรือบริการ ก็ใช้ชื่อของสินค้าหรือบริการตั้งเป็นชื่อเว็บไซต์ เนื่องจากสินค้าและบริการของคุณเป็นที่รู้จักแล้ว การใช้ชื่อสินค้าหรือบริการเป็นชื่อเว็บไซต์จะทำให้บริษัทของคุณดูมีความน่า เชื่อถือเพิ่มขึ้นด้วย
  • ชื่อเว็บไซต์แสดงลักษณะของบริการภายใน เว็บไซต์ ในกรณีนี้จะทำให้ชื่อเว็บไซต์ง่ายต่อการค้นหาและจดจำได้ส่วนหนึ่ง เช่น จะค้นหาผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง เว็บไซต์ที่ให้คำว่า Host หรือ Hosting เป็นชื่อประกอบจะค้นหาได้ง่ายกว่าการใช้ชื่อเฉพาะ
  • ในกรณีที่ใช้ชื่อที่ไม่มีความหมายตั้ง ชื่อเว็บไซต์ แต่ขอให้จำง่ายเป็นการดี เนื่องจากชื่อที่ใช้เหล่านั้นอาจจะเป็นคำที่ง่ายต่อการจดจำ และสิ่งที่สนับสนุนให้เว็บไซต์มีคนเข้าอาจจะเป็นคุณภาพการบริการที่ดีของ เว็บไซต์นั้นด้วย

ข้อกำหนดในการตั้งชื่อโดเมน


  • การจดโดเมนจะต้องจดทะเบียนเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1 - 10 ปี
  • ชื่อโดเมนต้องเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ เท่านั้น จำนวนตัวอักษร (รวมเครื่องหมาย -) และนามสกุลสูงสุดไม่เกิน 67 ตัวอักษร (สำหรับโดเมน .th จะต้องมีตัวอักษรอย่างน้อย 2 ตัว แต่ไม่เกิน 24 ตัว)
  • ตัวอักษรพิเศษที่ไม่สามารถใช้ในการจดทะเบียน ได้แก่ ! @ # $ % ^ & ฿ * ( ) + | / < > , ' ? " [ ] { } _
  • ตัวเลข 0-9 สามารถนำมาใช้ในชื่อโดเมนได้ ซึ่งสามารถขึ้นต้น, ระหว่างชื่อโดเมน, หรือลงท้ายได้
  • สามารถใช้เครื่องหมาย - เพื่อคั่นระหว่างตัวอักษรได้ แต่ไม่สามารถนำมาขึ้นต้น หรือลงท้ายได้
  • ชื่อโดเมนไม่สามารถประกอบด้วยช่องว่าง เว้นวรรค ในตำแหน่งใดๆ

การเลือกนามสกุลโดเมนให้เหมาะกับเรา


  • .com ย่อมาจาก commercial หมายถึง การค้า บริษัท องค์กร ธุรกิจที่แสวงหากำไร บางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ส่วนตัวหรือเว็บไซต์อื่นๆ ด้วย
  • .net ย่อมาจาก network หมายถึง เครือข่าย ธุรกิจที่เกี่ยวกับเครือข่ายมักใช้กับเว็บไซต์บริการอินเตอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
  • .org ย่อมาจาก organization หมายถึง องค์กร หรือกลุ่มบุคล มักใช้กับ องค์กรไม่หวังผลกำไร และ เว็บไซต์ของส่วนราชการ
  • .info ย่อมาจาก information หมายถึง ข้อมูล หรือการให้ข้อมูล ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่ให้รายละเอียดเกียวกับข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลของประเทศต่างๆ เป็นต้น
  • .name ย่อมากจาก .name หมายถึง เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับชื่อ
  • .biz ย่อมาจาก business หมายถึง องค์กร บริษัท ห้างหุ้นส่วน คล้ายกับ .com
  • .us ย่อมาจาก united states หมายถึง ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศนี้ด้วย
  • .co.th หมายถึง Company Thailand คือ บริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กร ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ผู้จดโดเมนเนมภายใต้หมวดหมู่นี้จะต้องเป็นองค์กรพาณิชย์ที่จดทะเบียนใน ประเทศไทย
  • .ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand หมายถึง โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ผู้จดโดเมนเนมภายใต้หมวดหมู่นี้ ต้องใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน
  • .or.th ย่อมาจาก organization Thailand หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
  • .in.th หมายถึง Individual/Incorporation Thailand คือ เว็บไซต์เกี่ยวกับองค์กรและบุคคลทั่วไป แบบใครขอก่อนได้ก่อน
  • .net.th ย่อมาจาก network in Thailand หมายถึง เว็บไซต์เกี่ยวกับบริษัทที่เกียวกับระบบ Network หรือ ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) ในประเทศไทย

ที่มา : http://work.igetweb.com/index.php?mo=3&art=400664
Last modified on วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2011 เวลา 15:30 น.

Latest from

back to top
คุยสดๆกับเราที่นี่!!
รับทำเว็บเกาหลี