รับทำเว็บ บริการ รับทำเว็บสไตล์เกาหลี โปรโมชั่น รับทำเว็บ สั่งทำเว็บไซต์เกาหลี สั่งทำเว็บไซต์เกาหลี เว็บบอร์ด รับทำเว็บสั่งทำเว็บไซต์เกาหลี แบบฟอร์มทำเว็บไซต์เกาหลี ผลงาน รับทำเว็บ
รับทำเว็บ
 
 

รับทำเว็บ ♥ iChicweb

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday172
mod_vvisit_counterThis month8204
mod_vvisit_counterAll days3226614

วันที่เปิดเว็บ : 10/06/2010 ❤

Login ♥






ลืมรหัสผ่าน?
ลืมชื่อผู้ใช้ของคุณ?
ไม่มีบัญชีผู้ใช้? ลงทะเบียน

คำรับรองจากลูกค้า :: iChicweb

ผลงานรับทำเว็บ iChicweb ♥

★ รับข่าวสาร Update!! จากเรา

Name:

Email:

เพื่อนบ้านที่น่ารั๊ก ♥ จุ๊ฟๆ

Host Atom

P&T Hosting Co., Ltd. :: บริการ | จดโดเมนเนม | เว็บโฮสติ้ง | VPS | Co-location |

สนใจเป็นเพื่อนบ้านกับ iChicWeb ติดต่อได้ค่า

 

แลกลิงค์ Banner 120x120

fashion

Copy Code แลกลิงค์ไปติดที่เว็บของคุณ
เรามี 1263 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
Google PageRank Checker

 
 
 
 
 
วันอาทิตย์ที่ 06 พฤศจิกายน 2011 เวลา 21:29 น.

ออกแบบเว็บเพจอย่างไรให้ดูดี (Web 2.0 Design)

Written by 
Rate this item
(0 votes)

 Web 2.0 Design  ส่วนประกอบของดีไซน์ยุคใหม่นั้นมีอะไรกันบ้าง

เรียบง่าย

ความเรียบง่ายหมายถึงการใช้จำนวน pixel ตามที่ต้องใช้เพื่อให้สื่อสารสิ่งที่ต้องการให้ได้และในการสื่อสารนั้นก็ประกอบไปด้วย ข้อมูลหลัก hard data และ เนื้อหาที่ซ่อนอยู่ soft information

ตัวอย่างของข้อมูล

  • Hard data – ข้อมูล สาระ เนื้อหาสำคัญที่ต้องการจะสื่อ เช่น ข่าว ราคาสินค้า ตารางเวลารถไฟ
  • Soft Information – ความรู้สึก บรรยกาศของหน้าเว็บ เปรียบเทียบได้กับความรู้สึกเมื่อแรกพบของผู้ชมที่มีต่อเว็บ ว่าน่าไว้ใจแค่ไหน จะเหมาะสมกับผู้ใช้หรือไม่

ตัวอย่างที่ดี

 

ดี เพราะ ละเอียด ตื่นตา น่าสนใจ แต่ก็เรียบง่ายในขณะเดียวกัน

ตัวอย่างที่ไม่ดี



ไม่ดี เพราะ ยุ่งเหยิง มีขีดเส้นมากมายที่ไม่ได้ช่วยเป็นส่วนประกอบในการสื่อสาร หาเมนูได้ยากไม่โดดเด่น มีลายเส้นที่เบี่ยงเบนความสนใจของสายตามากไป

เนื้อหาอยู่กึ่งกลาง

จากที่เคยกล่าวถึงไปเมื่อบทความก่อนหน้านี้ evolution of css layout ว่าหน้าเว็บในปัจจุบันเริ่มถูกออกแบบให้มีเนื้อหาอยู่กึ่งกลาง ตอนนี้เราก็สรุปได้แล้วว่าการวางเนื้อหาไว้ตำแหน่งกลางหน้าเว็บนั้น เป็นหลักการออกแบบที่ดีของดีไซน์ยุค 2.0

ซึ่งเหตุผลก็คือ การวางเนื้อหาไว้กึ่งกลางหน้าเว็บนั้น สามารถแสดงถึงความเรียบง่าย และตรงไปตรงมาได้ และจากการที่เราใช้จำนวน pixel อย่างประหยัดทำให้เราไม่ถูกกดดัน ให้ยัดเยียดเนื้อหาจำนวนมาก ไว้ในพื้นที่เล็กๆ เราสามารถสื่อได้มากกว่าจากความเรียบง่าย และเหตุผลเดียวที่เราอาจจะไม่เลือก ที่จะออกแบบเนื้อให้อยู่กึ่งกลางหน้าเว็บ คือ กรณีที่เราต้องการยัดเนื้อหาไว้ในหน้าเว็บเยอะๆ อย่างเช่น หน้าเว็บของ web application

น้อยคอลัมน์

เมื่อไม่กี่ปีก่อนเราจะเห็นหลายๆเว็บแบ่งเนื้อหาในหน้าเว็บเป็น 3-4 คอลัมน์ แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้แค่ 2 คอลัมน์ หรืออย่างมากก็ 3 เข้าข่ายยิ่งน้อยยิ่งดี ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการที่จัดให้หน้าเว็บอยู่กึ่งกลางจอด้วย ทำให้เราไม่ต้องบรรจุเนื้อหาให้เต็มหน้าจอ และเราก็ไม่จำเป็นต้องใช้คอลัมน์จำนวนมากในการสื่อสาร แค่ใช้คอลัมน์ที่จำเป็น ที่ได้เลือกและคัดสรรค์มาแล้ว ทำให้เรียบง่ายกว่า ตรงไปตรงมา และสื่อสารได้มีประสิทธิภาพมากว่า

ตัวอย่างที่ดี


ดี เพราะ คอลัมน์ที่เลือกใช้ เป็นคอลัมน์ที่ได้คัดสรรค์เลือกมาอย่างดีแล้ว ว่าคอลัมน์นั้นๆเป็น คอลัมน์ที่จำเป็นต้องมี

 

ตัวอย่างที่ไม่ดี


ไม่ดี เพราะ แต่ละคอลัมน์ไม่มีอะไรโดดเด่นขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถกำหนดได้ว่าควรจะมองที่ตรงไหนก่อน ทุกคอลัมน์มีความสำคัญเท่ากันหมดซึ่งทำใหดูกลืนเข้าไปในหน้าเว็บ

 

ตัวอย่างที่ใช้หลายคอลัมน์ได้


ที่สามารถใช้ได้หลายคอลัมน์เพราะแต่ละคอลัมน์ได้ถูกออกแบบ แยกสัดส่วนมาอย่างชัดเจน ว่าด้านซ้ายเป็นเมนู ตรงกลางเป็นสินค้าซึ่งถูกแบ่งโดยช่องว่าง ทำให้ไม่ดูรกตา

แยกส่วนหัวของหน้าเว็บอย่างชัดเจน

หมายถึงการทำให้ส่วนหัวของหน้าเว็บซึ่งหมายถึงส่วนโลโก้และเมนู โดดเด่นขี้นมาจากส่วนอื่นๆ

เทคนิคนี้ไม่ใช่อะไรที่ใหม่ มีการประยุกต์ใช้มานานแล้ว เพราะเป็นเทคนิคที่ดี แต่ปัจจุบันมีการนำมาใช้มากขึ้นเป็นพิเศษ และได้มีการแบ่งสัดส่วนอย่างขัดเจนมากขึ้นดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้


 

การแบ่งสัดส่วนหัวของหน้าเว็บไว้อย่างชัดเจนนั้นดีตรงที่ ได้แบ่งสัดส่วนให้แน่ชัดว่าส่วนไหนคือส่วนเริ่มของหน้าเว็บ ซึ่งเป็นการเน้นหลักการดีไซน์สไตล์ยุค 2.0 ที่ต้องการแสดงเนื้อหาอย่างหนักแน่น เรียบง่ายและตรงไปตรงมา

และการแยกส่วนหัวของหน้าเวปนั้นสามารถทำได้หลายวิธีเช่น ใช้สีที่โดดเด่นแตกต่างจากเนื้อหาที่เหลือดังเช่นตัวอย่างข้างต้น หรือจะใช้เส้นขีดแบ่งดังตัวอย่างต่อไปนี้ก็ได้

 

 

หรือจะแค่วางโลโก้ไว้ข้างนอกเนื้อหาดังตัวอย่าง

 

แยกส่วนต่างๆของหน้าเว็บอย่างชัดเจน

ส่วนต่างๆของหน้าเว็บประกอบไปด้วย

  • เมนู
  • พื้นหลัง
  • เนื้อหา
  • ส่วนอื่นๆ
  • ลิงค์

การที่จะจัดกลุ่มแบ่งแยกส่วนต่างๆได้อย่างชัดเจนที่สุดคือการเล่นสี


แต่การใช้ช่องว่างก็สำคัญไม่แพ้กัน

 

ข้อควรระวังของการเล่นสีคือ สีสรรคต่างๆจะดึงดูดความสนใจไปจากเนื้อหาที่สำคัญ ดังนั้นการวางเนื้อหาลงบนผืนผ้าใบที่ขาวสะอาดจะช่วยให้ผู้ชมรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

 

.

 

เมนูเรียบง่าย

เมนูหลักของหน้าเว็บควรมีสักษณะโดดเด่น สังเกตุเห็นและมองออกได้ง่ายว่าเป็นเมนู โดยการใช้ font ที่หนาใหญ่สะอาดและชัดเจน รวมถึงลิงค์ต่างๆในเนื้อหาควรดูโดดเด่นแตกต่างจากเนื้อหาที่เหลือ

 เพราะ เราต้องการให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซด์ของเราบอกได้ว่าส่วนไหนเป็นเมนู เพื่อให้รับทราบถึงข้อมูลต่างๆว่า

  • ตอนนี้อยู่ที่จุดไหนแล้ว
  • สามารถไปที่ไหนได้อีก
  • แสดงทางเลือกต่างๆให้ชัดเจน

เราสามารถทำให้เมนูดูโดดเด่นได้โดย

  • แยกส่วนออกมาจากเนื้อหา
  • ทำให้ดูแตกต่าง โดยใช้โทนสี และรูปร่าง
  • ใช้ตัวใหญ่และหนา
  • ใช้ภาษาที่ชัดเจนและเป็นสากลเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ลิงค์และเมนูดูโดดเด่นแตกต่างจากเนื้อหาส่วนที่ไม่ได้เป็นลิงค์

 

โลโก้ตัวหนา

สอดคล้องไปกับหลักการดีไซน์ยุค 2.0 เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจนและหนักแน่น

ตัวอย่างโลโก้ดังต่อไปนี้เป็นขนาดจริง สังเกตุได้ว่าขนาดจะค่อนข้างใหญ่

 

คุณสมบัติของโลโก้

  • แสดงออกให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน
  • จำได้ง่ายและแตกต่าง
  • เป็นตัวแทนภาพลักษณ์

 

ตัวอักษรตัวใหญ่

เว็บดีไซน์ยุค 2.0 มีการใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบกับเว็บสไตล์เก่าๆ การที่เราไม่ได้พยายามยัดเยียดเนื้อหาทำให้เรามีพื้นที่มากขึ้น และทำให้สามารถที่จะเลือกทำให้สิ่งสำคัญมีขนาดใหญ่กว่าสิ่งที่ไม่สำคัญ ซึ่งตัวอย่างการใช้งานที่ผ่านมาได้แก่การใช้ตัวอักษรใหญ่สำหรับหัวข้อต่างๆ

การใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ทำให้เราสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนสายตาสั้น ผู้อ่านที่อ่านผ่านๆ ผู้คนที่นั่งห่างไกลจากจอ หรือผู้ใช้จอ LCD ภายใต้แสงแดด



ถึงกระนั้นเราก็ควรมีเหตุผลในการกำหนดว่าส่วนไหน ควรจะใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ ให้ใช้เฉพาะกับส่วนที่สำคัญ เพื่อกำหนดความโดดเด่นหลังจากที่ได้เคลีย พื้นที่แล้ว ไม่ใช่สักแต่ว่าทำให้ดูใหญ่ไปหมด จะทำให้ดูรก และไม่ได้ผล ถ้าต้องการจุเนื้อหาที่มีความสำคัญพอๆกัน จำนวนมากควรคงขนาดตัวอักษรให้ตัวเล็กเท่าๆกัน


ตัวอักษรแนะนำตัวหนา

เป็นการสื่อข้อความหลักของเนื้อหา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตัวอักษรกราฟฟิกมากกว่าตัวอักษรธรรมดา เนื่องจากนักออกแบบต้องการจะควบคุมสิ่งที่หน้าเว็บต้องการจะสื่ออย่างชัดเเจน

 

แนะนำให้ใช้เมื่อเป็นสโลแกนหลักเท่านั้น

 

สีสันสดใส

สีสันที่สดใสมีคุณสมบัติในการดึงดูดสายตา เราสามารถใช้สีที่ตัดกันแบ่งส่วนต่างๆของหน้าเว็บ หรือกำหนดให้ส่วนที่สำคัญดูโดดเด่นขึ้นมาได้


แต่ก็ควรระวังไม่ใช้สีสดเกินไปล้อมรอบเนื้อหา เพราะจะทำให้สายตาถูกดึงหนีไปจากเนื้อหาหลัก ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้

 

แล้วก็อย่าลืมว่าการที่จุดนึงในหน้าเว็บจะดึงดูดสายตาได้ด้วยสีสันที่สดใส สีในจุดอื่นๆก็ควรจะอ่อนลงตามความสำคัญ มิฉะนั้นจะทำให้หน้าเว็บดูสับสนและยุ่งเหยิง

 

มีลูกเล่นบนพื้นผิว

ลูกเล่นต่างๆบนพื้นผิวไม่ว่าจะเป็นการเล่นแสงเงาหรือการไล่สีให้เป็นสามมิติเล็กน้อย ทำให้ภาพกราฟฟิคต่างๆดูเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยและดูเสมือนวัตถุจริง ไม่ว่าจะเป็น คาร์บอนไฟเบอร์


หรือพลาสติกเงา

 

เทคนิคนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อเราทำให้หน้าเว็บมีส่วนที่เป็นสามมิติเพียงเล็กน้อยเพื่อเน้นความโดดเด่นเท่านั้น การทำให้ทุกอย่างเป็นสามมิติไปหมดนั้นไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะจะลดความเด่นของสิ่งที่เราต้องการที่จะเน้น และทำให้โหลดช้า

ไล่เฉดสี

การไล่เฉดสีสามารถ สร้างมิติ และ กำหนดบรรยากาศของหน้าเว็บได้

 

มีการนำมาใช้ให้ดูเป็นเงา หรือนำมาใช้บนปุ่มเมนู

 

 

เงาสะท้อน

มีหลักๆอยู่ 2 แบบคือ

  • เงาสะท้อนบนพื้นผิวของตัววัตถุเอง
  • และเงาสะท้อนบนพื้นผิวที่วัตถุวางอยู่
     

หรือจะนำมาประยุกต์ใช้ให้วัตถุมีเงาสะท้อนบนกลับไป บนพื้นผิวของตัววัตถุเอง ก็จะได้ภาพกราฟฟิคที่น่าสนใจและสวยงาม

 

.

 

Icon น่ารัก

ไอคอนต่างๆมีบทบาทมากขึ้นในดีไซน์ยุค 2.0 ปัจจุบันเราเลือกที่จะใช้ไอคอนจำนวนน้อยลง แต่มีความหมายมากขึ้น

การใช้ไอคอนจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมองออกได้ง่าย และสื่อสารความหมายได้อย่างชัดเจน

ในอดีตได้มีการใช้ไอคอนมากเกินไป เช่นใช้กับทุกเมนูที่มี ซึ่งปัจจุบันเรานิยมที่จะใช้ตัวอักษรที่สื่อความหมาย ได้อย่างชัดเจนกว่าและไม่ทำให้หน้าเว็บรกไปด้วยไอคอน

เราจะนำไอคอนมาใช้ในจุดที่สำคัญเท่านั้น

 

ป้ายดาว

ควรใช้เพื่อดึงดูดสายตาไปยังสิ่งที่สำคัญจริงๆเท่านั้น และไม่ควรใช้เกิน 1 ดาวต่อ 1 หน้า



 

ทั้งนี้ทั้งนั้นเราไม่จำเป็นต้องใช้หลักการพวกนี้ทั้งหมด เพื่อให้เว็บมีหน้าตาเป็น 2.0 และการใช้หลักการออกแบบดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้หน้าเว็บ มีรูปแบบที่ดีเสมอไป แต่การออกแบบหน้าเว็บให้มีความเหมาะสม และพอดีกับเนื้อหา และสิ่งที่ต้องการจะสื่อต่างหากที่สำคัญ

แปลและอ้างอิงจาก
http://www.webdesignfromscratch.com/web-2.0-design-style-guide.cfm

 

ขอขอบคุณที่มา : 

 

Last modified on วันอาทิตย์ที่ 06 พฤศจิกายน 2011 เวลา 21:38 น.

 
 
 
 
 
 

คุยสดๆกับเราที่นี่!!
รับทำเว็บเกาหลี